Support
SUN SCREEN
084-636-6567 , 086-992-4525
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

UV SPF และ PA คืออะไร?

วันที่: 2015-06-24 10:17:54.0

รังสียูวีศัตรูตัวร้ายของผิวคุณ

 

รังสีที่แผ่กระจายจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสีต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ รังสีอินฟราเรด (Infrared light) แสงที่มองเห็นได้ (Visible light) และรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet light; UV) โดยรังสีที่เป็นตัวการทำร้ายผิวของเราคือ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งแบ่งตามช่วงความยาวคลื่นได้ 4 ช่วง คือ 

ยูวีเอ1 (UVA1) มีความยาวคลื่น 340-400 nm แสงช่วงนี้มีปริมาณมากที่สุดและทำร้ายผิวได้ลึกที่สุด ทำให้เกิดริ้วรอย ฝ้า กระและทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
ยูวีเอ2 (UVA2) มีความยาวคลื่น 320-340 nm แสงช่วงนี้ทำให้เกิดผิวหมองคล้ำ ฝ้า กระเป็นหลัก
ยูวีบี (UVB) มีความยาวคลื่น 290-320 nm แสงในช่วงนี้ทำให้เกิดผิวเกรียมแดด ผิวหนังอักเสบและทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
ยูวีซี (UVC) มีความยาวคลื่น 200-290 นาโนเมตร แสงในช่วงนี้โดยมากจะถูกดูดซับโดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศ จึงไม่สามารถผ่านมายังพื้นผิวโลกได้

 

ถ้าเทียบรังสี UV ทั้งหมดที่เข้ามาในโลกนี้ 100% จะเป็น UVB 5% เท่านั้น มีUVA2 20% และมี UVA 1 ถึง 75% ดังนั้น UVA 1 จึงมีความสำคัญมากในการทำให้ผิวของเราแก่ก่อนวัย แต่ครีมกันแดดส่วนใหญ่กลับไม่สามารถป้องกัน UVA1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งคนส่วนใหญ่มักทาครีมกันแดดเฉพาะช่วงเช้าซึ่งไม่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ตลอดทั้งวัน สเปรย์กันแดด CN จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้

 

ชนิดของรังสียูวีที่ก่อให้เกิดอาการที่ผิวหนัง

 

 

เนื่องจากแสงอัลตราไวโอเลตมีอันตรายต่อผิวหนังนี่เอง ทำให้ผลิตภัณฑ์กันแดด (Sunscreen) เป็นสิ่งจำเป็นต่อผิวของเราโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะป้องกันรังสียูวี ปกป้องผิวจากผิวไหม้แดด ฝ้า กระ หมองคล้ำ ริ้วรอย ลดโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังได้

 

ระยะเวลากับรังสียูวีที่ผิวหนัง

 

 

Effect of Sun on Skin – The Ultimate Guide to Sunscreen

อ้างอิง :

https://www.youtube.com/watch?v=V46vfg-7dEI&list=PLk9lGsg0I7Lv_MYuFPmKYbf_ueFjvLIyh&index=3

(Youtube : ของ Michelle Phan)

 

ค่า SPF คืออะไร?

ค่า SPF หรือ Sun Protective Factor คือ ค่าแสดงประสิทธิภาพของการปกป้องผิวจากรังสียูวีบีที่เป็นสาเหตุ ของความไหม้เกรียมจากสภาพผิวปกติ ตัวเลขที่แสดงค่า SPF นั้นได้จากอัตราส่วน ของระยะ เวลาที่ผิวหนังได้รับแสงแดดระหว่างผิวที่ทาสารกันแดดกับผิวที่ไม่ได้ทาสารกันแดดแล้วเกิดอาการแดงน้อยที่สุด

 

SPF    =   ระยะเวลาของผิวหนังที่ได้รับแสงแดดแล้วเกิดอาการแดงเมื่อทาสารกันแดด

ระยะเวลาของผิวหนังที่ได้รับแสงแดดแล้วเกิดอาการแดงเมื่อทาสารกันแดด

 

เช่น ถ้าพ่นสเปรย์กันแดด CN (Charites Nature) ที่ SPF 50 หมายความว่า ถ้าปกติเราทนแสงแดดได้นาน 15 นาที แต่ภายหลังพ่นสเปรย์กันแดด CN (Charites Nature) ที่มีค่า SPF 50 เราจะทนแดดได้นาน 15 * 50 นาที = 750 นาที ซึ่งเท่ากับ 12 ชั่วโมงครึ่งนั้นเอง แต่ในชีวิตจริงระหว่างวันคนทุกคนจะมีการเสียเหงื่อ มีการเช็ดหรือสัมผัสผิวหน้า ทำให้ครีมกันแดดที่ทาตั้งแต่ช่วงเช้าหลุดหายไปบางส่วน และเมื่อออกมาเผชิญกับแสงแดด ครีมกันแดดที่ทาช่วงเช้าก็จะเสื่อมประสิทธิภาพไปเรื่อยๆ การทาครีมกันแดดในตอนเช้าเพียงครั้งเดียวจึงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะปกป้องผิวได้ตลอดทั้งวัน จึงควรใช้สเปรย์กันแดดที่ป้องกันได้ทั้งUVA1,UVA2,UVBและผสมสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงทุก 2 ชม. เพื่อปกป้องผิวจากรังสียูวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ตารางที่ 2 แสดงค่า SPF และการป้องกันผิวหนังแดงจากแสงแดดชนิด UVB

 

ค่า PA คืออะไร ?

 

PA หรือ Protection grade of UVA คือ ค่าแสดงประสิทธิภาพของการปกป้องผิวจากรังสียูวีเอ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของ กระ ฝ้า และริ้วรอย ดังข้อมูลเปรียบเทียบด้านล่าง

 

PA+ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ได้ 2-4 เท่า ระดับน้อย

PA++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ได้ 4-8 เท่า ระดับกลาง

PA+++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ได้ 8-16 เท่า ระดับสูง

PA++++ หมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA ได้ >16 เท่า ระดับสูงสุด

 

เช่น PA++ เป็นค่าที่บอกว่าผลิตภัณฑ์สามารถปกป้องผิวจาก UVA ได้ 4-8 เท่า เป็นต้น

 

สารกันแดดที่ดีที่สุด ต้องมีค่า SPF และ PA สูงๆใช่หรือไม่ ?

 

จะเห็นได้ว่าครีมกันแดดที่มีค่าSPF 50 PA+++ สามารถปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะกับภูมิอากาศร้อนแดดแรงอย่างประเทศของเรา แต่ถ้าค่าSPFสูงมากกว่า50 หรือPAมากจนเกินไป จะสามารถป้องกันยูวีได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในขณะที่ผิวของเราอาจจะเสี่ยงต่อการอุดตันมากขึ้นได้ และไม่ว่าSPFและPAจะสูงเพียงใด การทาครีมกันแดดตอนเช้าเวลาเดียวก็ไม่สามารถที่จะปกป้องเซลล์ผิวจากรังสียูวีได้ตลอดทั้งวันอย่างมีประสิทธิภาพ(ทำตัวเอียง) สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ควรใช้สเปรย์กันแดดที่ป้องกันได้ทั้งUVA1,UVA2,UVBและผสมสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงทุก 2 ชม. เพื่อปกป้องผิวจากรังสียูวีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ในปัจจุบันมีการเลือกใช้สารเคมี 2 ประเภท ในการป้องกันรังสียูวี คือ

 

  1. ชนิดกายภาพ (Physical Sunscreen) เป็นสารที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสียูวีและไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) และ ซิงค์ออกไซด์ (Zinc Oxide) สารกันแดดนี้สามารถกันได้ทั้งรังสียูวีเอ ยูวีบี แสงที่มองเห็นได้ และอินฟราเรด แต่มีข้อเสียบ้างคือ ทำให้หน้าขาวไม่เป็นธรรมชาติและเหนียวเหนอะหนะ ในปัจจุบันมีการทำให้สารกลุ่มนี้กันแดดได้ดี ไม่เหนียวเหนอะหนะและหน้าไม่ขาวเวอร์ เช่น สเปรย์กันแดด CN (Charites Nature)

  2. ชนิดเคมี (Chemical Sunscreen) เป็นสารที่มีคุณสมบัติดูดซับรังสียูวีไว้แล้วเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อน สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติกันแสงแดดได้เป็นบางช่วงคลื่น เช่น อโวเบนโซน (Avobenzone) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของไดเบนโซอิลมีเธน (Dibenzoylmethane derivative) ที่สามารถป้องกันรังสี UVA1ได้ดีเยี่ยม (Full Spectrum) ไม่เหนียวเหนอะหนะและไม่ทำให้หน้าขาววอก ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่มีในสเปรย์กันแดด CN (Charites Nature)

 

 

ข้อดีการใช้สารกันแดดมีอะไรบ้าง?

  1. ช่วยป้องกันผิวไหม้แดง ผิวหนังอักเสบจากแสงแดด
  2. ช่วยไม่ให้ผิวหนังดูแก่มีริ้วรอยก่อนวัย
  3. ป้องกันการเกิดฝ้า กระ
  4. ปกป้องไม่ให้ผิวคล้ำเสีย
  5. ลดโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด

การใช้สารกันแดดควบคู่ไปกับสารลดเม็ดสีผิว (Whitening) จะช่วยให้ผิวกระจ่างใสได้ดียิ่งขึ้นและการใช้สารกันแดดควบคู่ไปกับสารเพิ่มความชุ่มชื้น (Moisturizer) จะช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื้นได้ดียิ่งขึ้น ลดเลือนริ้วรอยจากผิวที่แห้งและบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบได้

 

เอกสารอ้างอิง

 

1) Wilkinson, J.B. ; Moore, R.J: 7th edition 1982. Sunscreen, Suntan and Anti-sunburn Preparations. Harry's Cosmeticology : George Godwin London. p. 222-242.

2) Johnson, B.E. Changes in sunburn and mechanism of protection. Journal of Society of Cosmetic Chemists of Japan 978, 29 : 32-44

3) Balsam, M.S ; Sagarin Edward 2th edition 1927. Suntan Preparations Kreps Saual I ; Goldemberg Robert L. Cosmetics Science and Technology : United States of America. p. 254-256

4) ข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 รังสี ultraviolet กับมะเร็งผิวหนัง Chemical & Engineering news, Novenber 24, 1986.

5) Fitzpatrick TB ; Pathak Ma and Parrish J.A. Protection of the human skin against the effects of the sunburn UV (290-320 nm) In : Sunlight and man. Normal and abnormal photobiologic response. Pathak MA. Harber LC, Seije N et al (eds). University of Tokyo Press, Tokyo. 1970:751.

6) Blum, H.F. and Kirby Smith, J.S., Science, 1942, 96, 203.

7) Parrish JA ; White MB and Pathak MA, Photomedicine In : Dermatology in General Medicine. Fitzpatrick TB, Eisen AZ, Woff K, Freedberg IM, Austen KF. (2nd ed.), 1979 : 984.

8) Nater, J.P. ; De Groot A.C. 1983 Sun and Solaria Cosmetics. Unwanted Effects of Cosmetics and Drugs Used in Dermatology.

9) สุวรรณประกร พิชิต พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2528. Depigmenting agents & Sunscreens. ตำรายาและวิธีการรักษาโรคผิวหนัง : บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด กรุงเทพมหานคร หน้า 195-202.

10) Shaath, Nadim A. Edcyclopedia of UV Absorbers for Sunscreen Products. Cosmetics & Toiletries 1987, 102 : 21-36.

11) แนวทางในการใช้ Sunscreen. Clinical Practice Guideline for Sunscreen. นายแพทย์นภดล นพคุณ.

12) http://www.thaicosmetic.org

 

ทาง CN จึงได้ร่วมกับแพทย์ เภสัชกรและผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์บำรุงผิวคิดค้นสเปรย์กันแดดระหว่างวันนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่สามารถปกป้องผิวระหว่างวันได้อย่างมีประสิทธิภาพจากรังสี UVA1,UVA2,UVB ตอบสนองการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ต้องแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดระหว่างวันได้ และสเปรย์กันแดดจาก CN ยังสามารถแก้ปัญหาที่ครีมกันแดดแบบดั้งเดิมทำไม่ได้ ด้วยประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่เหนือกว่า

NanoWhite HydroBoost

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลโปรโมชั่นภายในร้าน
โทร 084-636-6567 , 086-992-4525

 

CHARITESNATURE

โทร 084-636-6567 , 086-992-4525

อีเมล
charites.nature@gmail.com